แต่ละบทความที่เขียนไป เหมือนจะเลอะเลือนไปบ้าง หาประเด็นที่ต้องการจะสื่อไม่เจอ
วันนี้เลยคิดที่จะ内省ตัวเองค่ะ ว่าแต่ละบทความนั้น ต้องการจะสื่ออะไร
「1」และ「3」ただいま発車します。
เมื่อปีที่แล้วที่เท้าสองข้างเหยียบแผ่นดินญี่ปุ่น ด่านแรกเลยก็เจอสถานีรถไฟแล้ว คันจิบางตัวก็อ่านไม่ออก แม้จะศึกษามาบ้างแล้วว่า รถไฟญี่ปุ่นจะมีตารางเวลาและแต่ละขบวนจะมีความเร็วต่างกัน แต่ก็คิดว่าไม่เป็นไร คงรอดแหละ พอถึงสถานีเท่านั้นแหละ เงิบเลยค่ะ คันจิแปลว่าเร็วๆ เหมือนกันหมด แล้วตัวไหนมันเร็วกว่า อันไหนมันยังไง จากเหตุการณ์ในตอนนั้น ทำให้คิดว่า คนที่มาประเทศนี้ เรื่องรถไฟสำคัญที่สุด สองบทความแรกที่ตั้งใจจะทำ คือ ให้ความรู้เรื่องนี้กับคนไทยที่จะไปญี่ปุ่น แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ที่ ขบวนรถไฟของแต่ละบริษัท จะมีคำศัพท์ต่างกัน แต่คำศัพท์ก็ยังคล้ายๆกันอยู่ หากมีโอกาส ก็อยากจะทำคำศัพท์ความเร็วของรถไฟในแต่ละบริษัทขึ้นมา เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ และเลือกใช้ถูก รวมไปถึงเรียนรู้คำศัพท์ไปด้วย สนุกไปกับการเดินทาง และเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น
หลังจากเริ่มคิด เริ่มทำ และเริ่มเขียนบทความ ทำให้รู้คำศัพท์ คันจิ คำว่า"เร็ว" เลยถือโอกาสเอา blog นี้ ไปเป็นสื่อการสอนนักเรียนที่รับเป็นติวเตอร์อยู่ น้องกำลังสอบN3 เจอคำศัพท์คำว่า 急速 พอเจอปุ๊ปก็นึกขึ้นมาได้ เลย้ผิด blog ตัวเองให้น้องดู นี่ๆๆ พี่ทำอยู่พอดีเลย สอนไปด้วย เม๊าแตกไปด้วย สนุกดีค่ะ
「2」LANG8の内省
บทความนี้ ถือได้ว่าเป็นการ output ได้ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ หลังจากที่ผู้เขียนได้คำแนะนำจากคนญี่ปุ่นแล้ว ก็ได้นำคำแนะนำตรงนั้น ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง คือ เมื่อวันที่13−15กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์งานบริษัทญี่ปุ่นที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่ง ได้เอาประโยคที่คนญี่ปุ่นแก้มาให้ 非常に興味深いこと ไปตอบคำถามตอนสัมภาษณ์ แทนที่จะใช้面白いก็เปลี่ยนมาใช้อันนี้แทน รู้สึกว่า การเปลี่ยนคำศัพท์เพียงนิดเดียว ก็สามารถเปลี่ยนการรับรู้ของคนได้เหมือนกัน
「4」−「5」秋になると、紅葉を見に行きましょうか。
ส่วนตัวแล้ว ฤดูญี่ปุ่นทั้งหมด 4ฤดู ชอบฤดูนี้มากที่สุด และตอนอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สงสัยมากว่า こうよう เนี่ย ทำไมมันอ่านเหมือนもみじ เคยถามเพื่อนคนญี่ปุ่นแล้วเหมือนกัน แต่คำตอบที่ได้กลับมาคือ "มันก็เหมือนๆกันนะ ต่างกันยังไงก็ไม่รู้เนอะ" เลยอึ้งไปซักพัก แต่ก็ไม่ได้หาต่อว่า ทำไมมันเหมือนกัน ต่างกันยังไง การเขียน blog ครั้งนี้เลย คิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่จะทำให้ตัวเองกระจ่าง และคิดว่าคงมีอีกหลายคนที่อาจจะเคยสงสัยแบบนี้เหมือนกัน นอกจากนี้ ยังอยากจะแนะนำสถานที่นอกรูทคนไทย ทัวร์ต่างๆที่พาไป ให้สัมผัสกับธรรมชาติ วัดที่สวยงามของประเทศญี่ปุ่น นอกจาก landmark ทั่วๆไป
Feedback ที่ได้รับกลับมาทั้งจากอาจารย์และเพื่อนคือ น่าจะทำให้ตรงกับฤดูกาล และเพื่อนถามเกี่ยวกับ concert ขาวแดง ที่ใช้คันจิตัว「紅」หากมีเวลา จะหาคำตอบมาให้ค่ะ
「6」ほっかいどう〜 美瑛の「美」
จากfeedback ของอาจารย์ ก็เลยทำให้ตรงกับฤดูกาล หน้าหนาว คือ แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวนอกรูทคนไทยและทัวร์ เอาประสบการณ์ของตนเองตอนออกเดินทางที่ประเทศญี่ปุ่นมา และนำใช้คำศัพท์จากสถานที่เหล่านี้ เพิ่มพูนความรู้เรื่อง漢語 ผู้เขียนมั่นใจพอสมควรว่า คงมีน้อยคนมากที่รู้จัก 美瑛 หากไม่ได้ค้นคว้าสถานที่ท่องเที่ยวอย่างจริงจัง คงไม่รู้จัก จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้ใช้ประสบการณ์ของตัวเอง output บอกต่อให้คำอื่นรู้ รวมถึงคันจิคำว่า 「美」ตั้งแต่เรียนมา 美人 อย่างเดียวเลย พอมาค้นคว้าคำศัพท์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ「美」แล้วเลือกคำที่น่าจะใช้บ่อย หรือน่าสนใจออกมา และหวังว่า ผู้อ่านคงจะนำไปใช้ได้ แต่ที่แน่ๆ ผู้เขียนกำลังทำสื่อการสอนเพิ่มเติมไปสอนนักเรียนที่เรียนพิเศษด้วยอยู่ค่ะ
จากทุกบทความที่เขียนมา ทำให้เกิดความคิดใหม่ขึ้นมาว่า ทุกครั้งที่เขียนบทความ จะต้องตั้งประเด็นที่ต้องการจะสื่อให้ชัดเจน บนหัวบทความ เวลาเขียนไปเรื่อยๆ จะเห็นประเด็นที่ต้องการจะสื่อ และไม่ออกนอกเรื่อง ไร้สาระ เอาแต่มันส์อย่างเดียว
สำหรับ内省ครึ่งแรก ขอจบเพียงเท่านี้ค่ะ เป้าหมายต่อไปคือ พยายามเขียนออกมาให้ดีที่สุด มีสาระและผู้อ่านสามารถนำไป output ได้ค่ะ
ราตรีสวัสดิ์ แล้วพบกันใหม่บทความหน้า จะพาไปเที่ยวไหน อย่าลืมติดตามนะคะ
0 件のコメント:
コメントを投稿