2015年3月30日月曜日

「16」桜通り抜けの「通」VS 「痛」

สวัสดีค่ะ เริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิแล้ว อากาศที่ญี่ปุ่นคงค่อยๆอบอุ่นขึ้น ผิดกับไทยที่ร้อนตับแลบ

หากพูดถึงฤดูใบไม้ผลิ ก็ต้องนึกถึง桜เป็นธรรมดาอยู่แล้ว แล้ว桜เนี่ย เราจะไปดูได้ที่ไหนบ้างในญี่ปุ่น

ตอบได้เลยว่า ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ก็เห็นได้หมด ยิ่งสวนสาธารณะ หรือว่านั่งรถไฟ สองข้างทางล้วนแต่เป็นต้น桜 ยิ่งในวัด ศาลเจ้า ริมแม่น้ำ โอ้โห ถ่ายรูปกันมันส์ไปเลย

แต่วันนี้จะขอนำเสนอสถานที่นี้ค่ะ โรงกษาปณ์ที่จังหวัด โอซาก้า ที่ผู้เขียนไปมาแล้วประทับใจมาก ในทุกปี จะมีเทศกาลที่เรียกว่า 桜通り抜け จะเปิดให้เข้าชมฟรี ในงานจะมีต้น桜หลากหลายสี หลากหลายพันธุ์ และจะมีซุ้มขายของที่ระลึกด้วย ชมตึกที่ออกแบบมาอย่างสวยงาม พร้อมดอกซากุระหลากหลายสี ริมแม่น้ำ เด็ดมั้ยละคะ ไปครั้งเดียว ได้รูปกลับมาเป็นร้อย
ภาพตอนกลางคืน เดินชม屋台 ท่ามกลางต้น桜


ภาพตอนกลางวัน ยามกลีบดอก​ 桜 ร่วงโรย สวยมากๆค่ะ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
แต่เคยสังเกตคำว่า 通り(とおり)มั้ยคะว่า มันสามารถอ่านได้อีกเสียงหนึ่งคือ 通(つう)

ในวิชา JAP READ  ผู้เขียนอ่านผ่านๆแล้วดันไปเจอตัว 「痛(つう)」 เอ๊ะ つうเหมือนกัน ตอนแรกงงว่า หรือว่าชั้นอ่านผิดรึป่าว คุ้นๆ เรียนมานาน เริ่มคืนอาจารย์ไปหมดแล้ว เลยมาเปิด辞書ดู อ่อๆๆ มันอ่านเหมือนกัน เลยได้ไอเดียมาเขียนบทความเกี่ยวกับ「通」และ「痛」 ค่ะ

通院(つういん)診療を受けるために病院に通うこと。สองตัวเอามารวมกันจากที่จะบอกว่า ฉันจะไปโรงพยาบาล เป็นประโยคยาวๆ ก็สามารถมาใช้คำนี้ได้ค่ะ

通運(つううん)貨物運送のこと(通運事業) ขนส่งสินค้า อันนี้ถ้าหากไปตามห้างก็สามารถเห็นได้ค่ะ เห็นบ่อยๆ เลยเอามาบอกต่อ

痛飲(つういん)大いに酒に飲むこと。ดื่มหนักๆ จากใช้いっぱい飲んだ หันมาใช้คำนี้กันดีกว่า 
痛感(つうかん)ひどくある事を感じる เจ็บใจ เจ็บจนฝังใจ 

内省

มีนักเรียนแลกเปลี่ยนญี่ปุ่น มาถามว่า นี่สินะเรียกว่าฝังใจวัยเด็ก แปลเป็นญี่ปุ่นว่าอะไร...ถามยากไปนะ ฝังใจ ใช้คำว่าอะไร ภาษาอังกฤษยังนึกไม่ออกเลยจ้า เลยลองหาดูหลายๆคำ ค้นไปค้นมา 痛感 กับ 心に刻む ค้นไปค้นมา สรุปนักเรียนแลกเปลี่ยนคนนี้บอกว่า น่าจะใช้思い出すดีกว่า ตึ่ง...... หาตั้งนาน 

จากการสนทนากับนักเรียนแลกเปลี่ยนคนนี้ ทำให้รู้ว่าบางทีคิดอะไรตื้นๆก่อนก็ดี ใช้คำง่ายๆไปก่อน หากหาคำยากๆแต่ใช้แล้วความหมายแปลกๆก็อย่าใช้เลยดีกว่า 

2015年3月28日土曜日

「15」 NEW ME_STORYTELLING3

はい、始めましょう。(はい)ホテルのロビーでソファーに座っているお父さんと息子さんがいますね。(はい)(えっと)多分チェックアウトをしているお母さんを待っていそうです。ソファーの左側に眼鏡をかけているお父さんはを読んでいます。右側にスーツを着ている息子さんは何もしない状態でロビーの周りをぼーと見回りをしています。で、えーと。。。柱に背中をかかっている外国人みたいな人と偶然に目があってしまった。(えー)最初は外国人かどうかまだわからないだけど、はっきり見ると、地図も広げているし、首にカメラもかけているし、日本語をわからなさそうと思っています。(うん)外国人は息子さんを見ると、嬉しい顔をして、急に息子さんの方で向かっていますね。でどうになると思いますか?(へーどうになるの?)息子さんはすごくびっくりしました。「どうしよう!俺英語しゃべれないよ。しかも、地図を読めないよ」心の中に言いますね。(はい)その後、新聞を読んでいるお父さんを見ると、新聞の陰で隠したいと思って、ですぐにお父さんのとなりに近くに移動して、新聞の陰を隠してしまった。(面白いね)

内省
1. อ่านมาหลายรอบแล้ว เริ่มจำได้แล้วว่าเรื่องเป็นยังไง และสามารถบอกรายละเอียดได้มากขึ้น เพิ่มเติมเนื้อเรื่องให้มากกว่าเดิม เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย 
2.สังเกตตัวเองได้ชัดเจนว่าเริ่มให้คำวิเศษณ์ จากที่ครั้งแรกไม่ได้ใช้เลยแม้แต่คำเดียว เช่น  はっきり、偶然、เป็นต้น ทำให้สามารถบอกได้ว่า เหตุการณ์นั้นและอากัปกิริยานั้น มีสภาพอย่างไร แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร
3.ก่อนที่จะทำนั้น ได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นว่า ควรจะใช้ねมากขึ้น แต่พอพูดจริงๆก็กลัวว่าจะใช้มากไป และไม่รู้ว่าหากใช้ไปแล้ว จะกลายเป็นฟุ่มเฟือยเกินไปหรือเปล่า หรือว่า ใช้ไม่ตรงจุดประสงค์ เลยกังวลเล็กน้อยเวลาเล่าจะฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ เหมือนเจาะจงว่า ชั้นต้องพูดนะ
4.ครั้งที่สองไม่เห็นภาพ เลยบรรยายตามที่จำได พอครั้งนี้เห็นภาพไปด้วย บรรยายไปด้วย เห็นได้ชัดเจนว่า พูดช้าลง และคิดก่อนว่า จะเริ่มบรรยายจากตรงไหนดี แม้จะทำมาสองรอบแล้ว แต่ก็เริ่มคำนึงถึงรายละเอียดมากขึ้น อยากจะเล่าให้ละเอียดกว่าเดิม แต่ข้อเสียคือ จะนึกถึงประโยคที่คนญี่ปุ่นใช้อยู่ดี เลียนแบบประโยคมาหมดเลย ไม่ได้แต่งขึ้นเอง เพราะกลัวผิด แล้วความหมายเปลี่ยน
5.ในฐานะเป็นผู้ฟัง จะพยายามหาเวลาแทรกあいづちอยู่ตลอดเวลา พอผู้พูดพูดจบประโยคปุ๊ป จะพูดขึ้นทันที เพื่อให้มีあいづちเยอะ แต่ก็กังวลนิดนึงว่า ถ้าเกิดเจอในสถานการณ์จริงๆแล้ว มีคำพวกนี้เยอะๆแล้ว คนญี่ปุ่นจะรำคาญหรือเปล่า ว่าอะไรจะแทรกชั้นเยอะขนาดนี้ และคำที่ใช้ก็จะซ้ำกันไปเรื่อยๆ 
6.เลิกใช้そしてแล้วค่ะ ไม่หลุดออกมาเลยซักครั้ง พอรู้ว่าอันนี้ใช้ผิด ตอนนี้สามารถตัดมันออกไปได้แล้ว หันมาใช้ で、それで、そのあとแทน 
______________________________________

แต่หลังจากที่เรียนคาบต่อมา ได้มีการถกเถียงเรื่อง それで ว่า ไม่ใช่ว่าไม่ใช้เลย แต่ว่าใช้น้อยมาก ตอนแรกก็เข้าใจผิดว่า มันต้องห้ามใช้เลย กลัวใช้แล้วจะไม่เป็นธรรมชาติ  ขอบพระคุณอาจารย์ที่ไขข้อข้องใจค่ะ

2015年3月22日日曜日

「14」八坂神社の「社」

สวัสดีค่ะ วันนี้จะพาไปเที่ยวศาลเจ้าค่ะ ศาลเจ้านี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดเกียวโต หากใครผ่านแวะเวียนไปแถวนั้นสามารถลองเข้าไปไหว้ ขอพร ได้ค่ะ มีชื่อเสียงมากๆ รู้จักกันในนาม ศาลเจ้าครอบจักรวาล ขอพรเรื่องอะไรก็ได้ค่ะ และคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ มักไปศาลเจ้านี้ในวันขึ้นปีใหม่หรือที่เรียกกันว่า 初詣ด้วยค่ะ

วิธีการเดินทางไม่ยากค่ะ ลงรถไฟ ฮันคิว สถานี คะวะระมาจิ แล้วออกทางออกที่5 เลี้ยวขวา ตรงมาเรื่อยๆ เจอเลยค่ะ ง่ายมากๆ


八坂神社(やさかじんじゃ)แม้ว่าจะเป็นศาลเจ้าครอบจักรวาล แต่ก็มีชื่อเสียงด้านความรักเหมือนกันค่ะ จะมีおみぐじ ความรักโดยเฉพาะให้เสี่ยงทายด้วยค่ะ และมีบ่อน้ำผิวพรรณ เชื่อกันว่า หากไปใช้น้ำล้างหน้า ล้างผิวแล้ว ผิวจะเปล่งปลั่ง ผู้เขียนไปมาแล้วค่ะ คิดแล้วอยากจะกรอกน้ำกลับมาอาบน้ำเลย

美容水


__________________________


ที่มาของการอัพบล็อควันนี้ มาจากวิชาการเขียนค่ะ  jap write อันเป็นที่รักของเราทุกคน เขียน 自己PRแล้วโดนFB กลับมาว่า 「貴社」เอ๊ะ คำนี้คุ้นๆรึป่าวคะ ส่วนใหญ่เรามักเขียน 「会社」ใช่มั้ยคะ
ก่อนหน้านั้นผู้เขียนได้เรียนคำว่า 「貴社」มา แปลว่าบริษัทเหมือนกัน ดูหรูใช่มั้ยคะ ทั้งปีทั้งชาติ เขียนแต่ 「会社」มาตลอด พอรู้จัก「貴社」ปุ๊ป ก็ใช้เลยค่ะ ปรากฎว่า โดนFBกลับมาว่าใช้ไม่ได้ เลยเริ่มลองหาเหตุผลว่า ทำไมชั้นถึงใช้ไม่ได้ล่ะ

「会社」(かいしゃ)แปลว่า บริษัท คำพื้นๆ ไม่ว่าจะบริษัทเค้า บริษัทเรา ใช้ได้หมดค่ะ
「貴社」(きしゃ)แปลว่า บริษัท เหมือนกันค่ะ แต่ หมายถึงบริษัททางเราค่ะ
 ในเนื้อความผู้เขียนใช้ 貴社から単語を300個もらいました。ซึ่งผู้อ่าน ก็เป็นบริษัทเหมือนกัน จึงไม่สามารถใช้คำนี้ได้ ถ้าใช้จะหมายความว่า ทางผู้เขียน ได้รับคำศัพท์300คำจากบริษัทคนที่กำลังอ่าน自己PRอยู่ ซึ่งผิดความหมาย จาก 貴社 จึงต้องเปลี่ยนเป็น会社 ธรรมดาค่ะ แหม พอได้ทีจะใช้คำหรู ดันมาใช้ผิดความหมายซะนี่ T^T

ค้นไปค้นมา เจออีกคำค่ะ 「御社」(おんしゃ)แปลว่า บริษัทเหมือนกันค่ะ ซวยเลยทีนี้ เยอะเกิ๊น
御社 เหมือนกับ 貴社ค่ะ แต่ใช้เป็นภาษาพูดค่ะ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสัมภาษณ์งานได้ค่ะ คำหรูๆ และรับรองว่า ถูกแน่นอนค่ะ

内省
ตอนแรกคิดแค่ว่า พยายามใช้คำใหม่ๆดีกว่า หากเรารู้จักนำคำใหม่ๆมาใช้แล้ว จะสามารถนำสิ่งที่เรียนออกมาoutput ได้ แต่กลับลืมนึกไปว่า คำบางคำดูหรูก็จริง แต่อาจมีความหมายแตกต่างออกไป ควรจะเช็คก่อนว่า มันหมายความว่าอะไร ใช้ได้เหมือนกันหรือเปล่า หากมองข้ามตรงนี้ไป ก็เหมือนเราไม่สามารถoutput ออกมาได้อย่างถูกต้องเช่นกัน ต่อไปจะระวัง และรอบคอบกว่านี้ค่ะ

2015年3月20日金曜日

「13」I SEE_STORYTELLING2

สวัสดีค่ะ บทความที่แล้วได้ลงเรื่อง story telling ไปแล้ว ครั้งนี้จะมาลงอีกรอบเพื่อบอกการพัฒนาของตนเองค่ะ

หลังจากที่ได้เล่าเรื่องรอบแรกไปแล้ว อาทิตย์ถัดมาในคาบเรียน ได้มีการเฉลย และแนะแนว ประโยคที่คนไทยต้องการจะพูดแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ รวมถึงจุดบกพร่องของคนไทย และได้เปรียบเทียบกับคนญี่ปุ่น

ซึ่ง ได้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนมาก ครั้งนี้ จะนำstory tellingครั้งที่2 มาให้อ่านกันค่ะ

ホテルのロビーに新聞を読んでいるお父さんと息子さんがソファーに座っている。
ぼーとしている息子さんは偶然に外国人のおじさんと目が合っていた。おじさんはカメラを首からぶらさげ、地図を広げて、誰か助けてもらうかなと考えるみたいな顔をしている。息子はそう思ってから、自分が日本語しかしゃべれないので、心の中に「どうしよう」と思いながら、お父さんの方を見て、アイディアが出来た。お父さんと一緒に新聞を読んだら、おじさんは多分近寄らないかもしれない。それで、お父さんの隣に向かって新聞のかげに隠れてしまった。おじさんは息子さんの行動を見ると、「いやだなー」という意味が分かった。

内省
 ⒈จากข้อบกพร่องครั้งที่แล้ว คือ ไม่ได้บรรยายถึงสถานการณ์รอบตัว สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร ครั้งนี้จึงปรับปรุงและบรรยายว่า รอบตัวนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีใครบ้าง  ครั้งนี้จึงบรรยายรายละเอียดไปมากขึ้น เริ่มจากที่โรงแรม ส่วนไหนของโรงแรม ก็คือ lobby 
 ⒉ครั้งแรกบอกแค่ว่า "ลุงคนที่หนึ่ง"  "ลุงคนที่สอง" แต่ครั้งในได้ใส่ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนเข้าไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ คนที่อ่านหนังสือพิมพ์เป็นพ่อ และอีกคนเป็นลูก และนักท่องเที่ยวได้เพิ่มรายละเอียดลงไปว่า เค้าอยู่ที่ไหน และได้แขวนกล้องไว้ที่คอ รวมถึงเพิ่มคำว่า น่าจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องในช่องต่อไปได้ราบรื่นขึ้น
 ⒊เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่เคารพและ ตัวอย่างที่ดีจากคนญี่ปุ่น ได้นำสำนวนที่ตนเองสนใจมาบรรยายใหม่ เป็นเรื่องดีที่ได้เรียนรู้และเห็นตัวอย่างที่ดี และตัวอย่างที่ไม่ดี (ของตนเอง) และนำทั้งสองอย่างมาประยุกต์ใช้ใหม่ แต่ ข้อเสียคือ พอเห็นตัวอย่างว่า ประโยคนี้ดี น่าสนใจจึงทำให้ลอกประโยคมาทั้งดุ้นเลย บางประโยคแทบจะไม่ได้คิดเองใหม่เลย 
 ⒋ครั้งแรกจบประโยคแบบแห้งๆ ครั้งนี้ได้เติมคำเชื่อมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การบรรยายดูราบรื่นขึ้น
 ⒌คิดว่าครั้งนี้เล่าได้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ ก็ยังขาดอรรถรสอยู่ดี หวังว่าครั้งหน้าจะทำให้ดีขึ้น
 ⒍ ครั้งนี้ไม่ใช้คำว่า そして เนื่องจากคำเชื่อมคำนี้ นับว่าเป็นคำแรกๆเลยที่เรียนเพื่อใช้ในการเชื่อมประโยค ดังนั้น ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียน ก็มักใช้ そしてในการเชื่อมประโยคเสมอ โดยที่ไม่มีใครเคยสอนมาก่อนว่า そして นั้นใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น และคนญี่ปุ่นแทบจะไม่ใช้ในภาษาพูดเลย (ขอปี๊ปคลุมหัวแปป)
 ⒎ ใช้ไวยากรณ์ てしまった มาขึ้น ครั้งแรก。。。 ไม่มีใช้เลยแม้แตครั้งเดียว พอได้เรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ รวมถึงได้มองย้อนตัวเองในอดีตว่า แทบจะไม่ได้ใช้เลย ภาษาญี่ปุ่นของตนเองคงจะดูแข็งๆและไม่เป็นธรรมชาติเลย ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ และคนญี่ปุ่นที่สละเวลามาทำกิจกรรมนี้ ทำให้ภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนไทยได้พัฒนามากขึ้นจริงๆค่ะ แม้จะไม่ได้เห็นการพัฒนาได้อย่างชัดเจนในการoutput แต่รู้สึกได้ถึงการพัฒนาของตนเองค่ะ 

2015年3月19日木曜日

「12」MYSELF_STORYTELLING1

สวัสดีค่ะ เจอกันอีกแล้ว แต่ครั้งนี้ขอพักจากการเที่ยว มาเป็นสาระความรู้เต็มๆเลยดีกว่าค่ะ

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เรียนเรื่องการเล่าเรื่องจากภาพเกิดปัญหามากมาย ความรู้ที่เรียนมาตั้งแต่ม.ปลาย....อย่าให้พูดเลยดีกว่า อายยันลูกบวช มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่ามันน่าอายแค่ไหน(ขอปี๊ปคลุมหัว)

ある二人のおじさんがソファーに座っている。一人目のおじさんは新聞を読んでいる。隣に座っているはあと二人目のおじさん。でもう一人の旅行者みたいな人は二人目のおじさんに地図。。。道を聞きたいみたい。でも、二人目のおじさんは答えたくないから、一人目のおじさんにもっと近くに移動して一緒に新聞を読む。

内省
 1. เริ่มขึ้นมาก็บอกเลยว่า มีลุงสองคน แล้วลุงสองคนนี้อยู่ที่ไหน สภาพแวดล้อมเป็นยังไงก็ไม่บอก คนฟังก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดที่ไหน
   2. "ลุงคนแรก" แล้วลุงคนนี้คือใคร รูปร่างยังไง ใส่แว่นมั้ย แค่บอกว่า ลุงคนแรกอ่านหนังสือพิมอยู่ นั่งอยู่ตรงไหนของโซฟา โซฟาเป็นยังไง ขาดการอธิบายสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก พอมาอ่านอีกรอบแล้วรู้สึกว่าเป็นการเล่าเรื่องที่แย่มาก
 3. "ลุงคนที่สอง" ก็เช่นเดียวกัน จากรูปจะเห็นชัดเจนว่า คนนี้แต่งตัวอย่างไร ลักษณะรูปร่างควรจะบรรยายให้คนฟังรู้เรื่องด้วย  นั่งอยู่ส่วนไหน่ของโซฟา แล้วจากสภาพการณ์แล้ว เค้ากำลังทำอะไรอยู่หรือเปล่า หรือว่ากำลังรออะไร รอใคร หากไม่บรรยายให้ชัดเจน ก็ไม่นับว่าเป็นการเล่าเรื่องที่ดีเช่นกัน
 4. "นักท่องเที่ยว"ทีว่านั้น อยู่ที่ไหนของภาพ ก็ไม่ได้บรรยายบอก หรือว่าแต่งตัวอย่างไร อายุเท่าไหร่ เพศอะไร ดูเป็นตนต่างชาติมั้ย ขาดการอธิบายที่ดีเช่นกัน 
 5. ลุงคนที่สองไม่อยากตอบนั้น เพราะอะไรถึงไม่อยากตอบ ไม่สามารถเล่าถึงเหตุผลได้ชัดเจน ซึ่งประโยคก่อนหน้าก็ไม่ได้บอกว่า นักท่องเที่ยวคนนี้จะเข้ามาถามทาง หรือแค่บอกว่า กำลังดูแผนที่ เหมือนว่าอยากจะถามทางนะ แต่ประโยคถัดมาดันมาบอกว่า ไม่อยากตอบคำถาม 
 6. "เขยิบเข้าไปใกล้ๆ" ความจริงอยากอธิบายเป็นความหมายแบบนี้ แค่ก็ไม่รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นใช้คำศัพท์ว่าอย่างไร ดังนั้น จึงพูดได้แค่ว่า เข้าไปใกล้ๆ แล้วก็อ่านหนังสือพิมพ์ด้วยกัน แต่การบรรยายว่าอ่านหนังสือพิมพ์ด้วยกันนั้นสามารถจินตนาการภาพได้หลายอย่าง กางหนังสือพิมพ์ออกมาอ่านด้วยกันบนโต๊ะ หรือเข้าไปอ่านด้วยกัน ในรูปภาพเห็นได้ชัดเจนว่า เจตนาที่ต้องการจะสื่อคือ ต้องการหลบนักท่องเที่ยวคนที่จะมาถามทาง จากบรรยายนั้น ไม่ได้เล่าเลยว่า เพราะเหตุใดจึงมาอ่านหนังสือพิมพ์กับคนที่นั่งอยู่ข้างๆและอ่านด้วยวิธีใด
 7. คำศัพท์ที่ใช้ ศัพท์เด็กๆทั้งนั้น แกรมม่าอะไรผิดหมด ไม่มีคำเชื่อมประโยคเลย เหมือนพูดจบประโยคแห้งๆ ตัดจบๆ ไม่มีความน่าสนใจ 
 8. ขาดการบรรยายเล่าเรื่องที่ดี อย่างน้อย ก็ต้องบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร บรรยายสภาพแวดล้อมออกมาให้ละเอียดที่สุด จึงจะถือว่าเป็นการสื่อสารที่ดี หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง พอย้อนกลับมาดูอีกทีจะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการเล่าเรื่องที่ไม่น่าฟังเลย
 9. การทำกิจกรรรมในครั้งนี้ ทำให้ย้อนกลับไปดูตัวเองในสมัยก่อนว่า เวลาเล่าเรื่องให้เพื่อนคนญี่ปุ่นฟังนั้น มันขาดอรรถรส เราเล่าเรื่องตามแกรมม่าที่เรียนมา จบท้ายประโยคเป็นvる vますเท่านั่น ไม่ได้มีใช้คำเชื่อมเพื่อเพิ่มความสนใจเลย แต่ก็ขอขอบคุณคนญี่ปุ่น ที่มีあいづちอยากรู้อยากเห็น น่าฟัง  ตอบกลับมาเหมือนเรื่องที่เราเล่านั้นมันน่าสนใจมาก
 10. ในระหว่างที่เล่าเรื่องนั้น ขาดไปอีกหนึ่งอย่างคือ การเปิดโอกาสให้ผู้ฟังนั้นตอบโต้ในการเล่า ไม่ได้เว้นว่างจบประโยค พอจบประโยคนึงก็เริ่มประโยคนึงทันที เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ไม่มีเลยแม้แต่คำเดียวที่ผู้ฟังนั้นพูดโต้ตอบกลับว่า แต่เวลาเล่าเรื่อง มั่นใจว่า ผู้ฟังพยักหน้ารับรู้อยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นเพราะ คนไทยมักจะคิดว่า การพูดแทรกเป็นเรื่องเสียมารยาทหรือเปล่า จึงได้แต่พยักหน้าเข้าใจ และไม่เริ่มพูดจนกว่าผู้พูดจะพูดจบ แล้วจึงพูดแสดงความคิดเห็น 

2015年3月16日月曜日

「11」5月病の「病」

สวัสดีค่ะ ช่วงนี้อัพถี่นิดส์นึง เนื่องจากห่างหายไปนานเกินหนึ่งอาทิตย์

บทความในวันนี้ ขอเสนอคำว่า  5月病 ค่ะ อย่าเพิ่งงง ว่าเอ๊ะ ทำไมมาทำอะไรเดือนห้า

คำว่า 5月病 มีความหมายตรงตัวเลยค่ะ คือ ป่วยในเดือนห้า นั่นเอง คำนี้มีที่มานะคะ ไม่ใช่สุ่มเอาเดือนไหน ชอบเดือนนี้ อ๊ะ เอาเลยๆ ไม่ใช่ค่ะไม่ใช่

จากบทความที่แล้ว ปลายเดือนกุมภาพันธ์ จะจบปีการศึกษาใช่มั้ยคะ เปิดภาคการศึกษาใหม่ก็จะเดือนเมษายนค่ะ เรียนไปสักพัก ประมาณ 1เดือน....เกิดอะไรขึ้นคะ ขี้เกียจใช่มั้ย ปรับตัวไม่ทัน โอ๊ย อะไรกัน ชั้นเข้ากันกับโรงเรียนไม่ได้ ปวดหัว ตัวร้อน ท้องเสีย หยุดเรียนดีกว่า นั่นแหละค่ะนั่นแหละ คือ5月病 

หมายถึง พอเริ่มเข้าเดือนห้าแล้ว นักเรียนมักหยุดบ่อยๆ ทั้งๆที่ความจริงแล้ว ป่วยจริง หรือว่าแค่ "ป่วยการเมือง"

5月病 คำว่า 病 เนี่ย แตกออกมาเป็น漢語 อะไรได้บ้าง ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
คำที่น่าสนใจ มีคำว่าอะไรบ้าง

病欠(びょうけつ) หมายถึง การขาดงานเพราะป่วย อันนี้ป่วยจริงๆค่ะ ดอกจันทร์แปดร้อยดอก ใช้เยอะมากๆค่ะในที่ทำงาน

病死(びょうし) หมายถึง การป่วยตายค่ะ ดูน่ากลัวไปนิดนึง แต่แทนที่จะพูดเป็นประโยค คำเดียว เข้าใจ จบเลยจ้า

病癖(びょうへき)คำนี้ไม่เกี่ยวกับอาการป่วยเลยค่ะ มันหมายถึง นิสัยที่ไม่ดี แหมๆภาษาญี่ปุ่นนี้ ง่ายนิดเดียวนะคะ ง๊ายง่าย

และคำสุดท้ายที่ขอเสนอ 病苦(びょうく) หมายถึง ความทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย ตรงตัวเลยค่ะ

เป็นอย่างไรบ้างคะ แม้จะเป็นคำศัพท์ง่ายๆ แต่คิดว่า น่าจะได้ใช้ในชีวิตประจำวันค่ะ อ่านง่าย จำง่าย ใช้ง่าย หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างนะคะ

____________________________

ป่วยๆๆๆๆๆ เอ๊ะ หาเรื่องเที่ยวให้หายป่วยกันดีกว่าค่ะ เดือนมีนาคม ที่ญี่ปุ่นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามอีกมากมายมาแนะนำค่ะ วันนี้ ขอแนะนำสถานที่นี้ค่ะ

上高地(かみこうち)ตั้งอยู่ที่จังหวัด長野สวยมากกกกกกค่า ขอบอก ห้ามพลายเลยทีเดียว สามารถเข้าชมได้ปลายฤดูหนาว จนถึงต้นฤดูร้อน เสน่ห์ของที่นี่คือ  เราสามารถมองเห็นภูเขาที่มีหิมะปกคลุม พร้อมๆไปกับทิวทัศน์ แม่น้ำ สะพานไม้ ถ่ายรูปได้เก๋ไก๋ เอามาโชว์เพื่อนลง SNS ได้สบายๆเลยค่ะ


สำหรับวันนี้ ลาไปก่อนด้วยภาพสวยๆจากสถานที่งดงามทางธรรมชาติ หายป่วยแล้วอย่าลืมไปเที่ยวกันนะคะ สวัสดีค่ะ

内省 5月病 เคยได้ยินครั้งแรกเมื่อตอนไปแลกเปลี่ยนที่ญี่ปุ่นค่ะ นักศึกษาขาดเรียนกันเยอะมากๆ จนอาจารย์พูดในห้องว่า รู้จักคำนี้กันบ้างมั้ย หลังจากนั้นก็นึกขำตัวเอง เออความจริง คนไทยก็เก่งนะ ไม่เป็นกัน แต่อยากหยุดเมื่อไหร่ก็หยุดไปเลย แปลกดี
           คำว่า 5月病 เป็นแค่ใบเบิกทาง ให้เขียนบทความนี้เท่านั้น เนื่องจากผู้เขียนต้องการหาคำว่า ป่วย ที่ไม่ใช่ 病気 เพื่อไปใช้ในการทำงานพิเศษ ต้องการจะอีเมลบอกนายญี่ปุ่นว่า คนนี้ป่วยค่ะ เลยขาดงานไปหนึ่งวัน เลยลองหาดูว่ามันมีคำอะไรที่ใ้ช้ได้นอกจากคำว่า 病気บ้าง ก่อนหน้านี้เคยได้ยินคำว่า 病欠มาแล้ว แต่ก็ติดอยู่ที่ปาก นึกไม่ออกซักที พอมาเขียนบทความ เลยถึงบางอ้อเลยค่ะ ได้แล้วคำนี่นี่เอง 病欠 หาคำที่ต้องการได้แล้วก็นำไปใช้ตอบอีเมลนายทันทีค่ะ

2015年3月15日日曜日

「10」ホワイトディー 「愛」

สวัสดีค่ะ บทความดี สุขสันต์วันwhite day สำหรับคนมีคู่ ส่วนคนโสดก็ไม่ต้องเสียใจนะคะ เพราะว่า ผู้เขียนจะอยู่เป็นโสดเป็นเพื่อนคุณเอง

รู้มั้ยคะว่า ประเทศไทย มีอัตราส่วนผู้หญิงมากกว่า ผู้ชายถึง 870000 คน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกังวลค่ะ ยังมีอีก870000คน ที่โสดเป็นเพื่อนคุณ อิอิ 

วันดีๆแบบนี้ ขอเสนอคำศัพท์ ความรัก ดีกว่าค่ะ 「愛」 เนี่ย มีความรักอะไรบ้างนะ อย่าเสียเวลา ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

คำแรก แหมๆๆๆ จะเป็นอะไรไปไม่ได้ วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของคนญี่ปุ่นคือ 飲み会ใช่มั้ยคะ แล้วคนที่รักในการดื่มเนี่ย เรียกว่าอะไรรู้รึป่าว นั่นก็คือ 愛飲(あいいん)ค่ะ 飲み会に行きましょうか เน้นตัวใหญ่ๆเลยไปค่ะ สำคัญมาก คำนี้ อิอิ


飲み会 เสร็จแล้ว ไปไหนต่อค่ะ อ่ะแน่นอนนนนน ร้องเพลงค่ะ เข้าเลยค่ะ คาราโอเกะ จังคาระ หากไม่เห็นแสงพระอาทิตย์ยามรุ่งสาง ไม่เลิกค่ะ ขอเสนอคำว่า 愛唱(あいしょう)หมายถึง คนที่ชื่นชอบการร้องเพลง


คำต่อมา คนรักสัตว์ เยอะแยะใช่มั้ยคะ แต่ก็ลงลึกไปอีกนิดนึง เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนรักสุนัข  คนรักสุนัขคงมีหลายคน ขอเสนอคำนี้ค่ะ 愛犬(あいけん)

คำต่อไป สำคัญมากค่ะ รักกัน แต่งงานกัน ต้องมีคำนี้อยู่ในใจผู้ชายทุกคนค่ะ 愛妻(あいさい)หมายถึง ภรรยาที่รัก แต่ถ้าเติม「家」ลงไปเป็น 愛妻家(あいさいか)จะหมายถึง สามีภรรยาที่รักกันค่ะ

ขึ้นชื่อว่าเป็นเด็กอักษรแล้ว ต้องรักอะไรคะ "หนังสือ" ใช่มั้ยคะ อิอิ ขอเสนอคำว่า 愛書(あいしょ)หมายถึง ผู้ที่ชื่นชอบในการสะสมหนังสือ นี่แหละ เด็กอักษร

_____________________

วันดีๆ วันแห่งความรัก สถานที่ท่องเที่ยวที่จะนำเสนอ ก็ต้องเป็น date spot สิคะ ขอแนะนำที่นี่เลยค่ะ

赤レンガ ตั้งอยู่ใกล้ๆchina town และ みなとみらい ที่จังหวัด横浜ค่ะ เดินจูงมือกับคนรักไปเรื่อยๆ แหมๆๆๆ โรแมนติกใช่เล่นเลยค่ะ สถานที่นี้นอกจากจะเป็นที่เดทสำหรับคู่รักแล้ว มีประวัติด้วยนะคะ ในสมัยก่อนเนี่ยใช้เป็นคลังเก็บสินค้าค่ะ แต่ตอนนี้ดัดแปลงมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเปิดร้านขายของเก๋ๆ ถ่ายรูปสวยๆ บรรยากาศดี แอร๊ยยยยย 

 สวยใช่มั้ยคะ ผู้เขียนคอนเฟิร์ม ไปเห็นมาด้วยตาตัวเองเลยค่ะ

ลาไปด้วยภาพสวยๆของ 赤レンガ ใครผ่านไป横浜อย่าลืมแวะไปเที่ยวนะ เริ่ดมากค่ะ บอกเลย
 HAPPY WHITE DAY2015 ค่ะ ขอให้เจอเนื้อคู่ในเร็ววัน ไม่เจอก็ไม่เป็นไรนะคะ ยังมีอีกผู้หญิงอีก 869999คน ที่"โสด" เป็นเพื่อนคุณ 



内省 ยิงปืนนัดเดียว ได้นอกสองตัว เนื่องในวันแห่งความรัก เด็กๆทั้งหลาย โดยเฉพาะวัยรุ่น ก็ต้องโหยหาความรัก หรือชอบอะไรที่เกี่ยวกับรักๆใคร่ๆอยู่แล้ว เลยถือโอกาส หาคำศัพท์เกี่ยวกับความรัก ไปเป็นสื่อการสอนพิเศษอีกหนึ่งครั้ง แม้จะไม่ได้เป็นศัพท์ที่ยากมากเท่าไหร่ แต่ก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่า เพียงแค่เอาคำศัพท์ง่ายๆมารวมกัน ก็สามารถเกิดเป็นความหมายใหม่ได้ 
           ต่อจากนี้จะเริ่มสังเกตมากขึ้น บางทีอ่านไม่ออกก็จริง ว่าต้องอ่านเป็นเสียงญี่ปุ่น หรือเสียงจีน แต่เห็นคันจิก็รู้แล้ว ยิ่งเขียนบทความมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งคิดว่า漢語นั้นไม่ใช่เรื่องยาก 

2015年3月10日火曜日

「9」卒業旅行の「卒」

สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายไปนาน เนื่องจากติดภารกิจสำคัญของชีวิต

บทความนี้ ขอเสนอเกี่ยวกับคำว่า 卒業旅行ค่ะ

ที่ญี่ปุ่นเนี่ย ภาคการศึกษาของเค้าจะต่างจากเรา คือ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ก็จบปีการศึกษาแล้วค่ะ
หลังจากนั้น นักศึกษาที่ได้งานทำแล้ว เค้าก็จะจัดทริปจบให้กับตนเอง เรียกง่ายๆว่า 「卒業旅行」
แต่คนไทยไม่ใช่ใช่มั้ยคะ จบแล้วก็ หางานทำ....บางคนจบแล้วก็เริ่มทำงานเลย

วันนี้จะมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของนักศึกษาญี่ปุ่นค่ะ ว่า卒業旅行 เค้าไปเที่ยวไหนกันมาบ้าง แต่ก่อนที่เราจะไปถึงตรงนั้น มาเติมคำศัพท์ เพิ่มพูน漢語กันก่อนดีกว่าค่ะ

จบการศึกษาคือ  卒業 ใช่มั้ยคะ
ถ้าเติม「者」ลงไป 卒業者 จะหมายถึง ผู้จบการศึกษา
แต่ถ้าเติม「生」ลงไป 卒業生 จะหมายถึง ศิษย์เก่าค่ะ  อย่าสับสนนะคะ ^___^

แต่รู้มั้ยว่า มันไม่ใช่มีแค่นั้นนะ ยังมีคำว่า
卒園(そつえん)ที่แปลว่า จบการศึกษาในระดับอนุบาลอีกด้วยค่ะ

หากจะไปสอบขับรถแล้วได้เรียนจบหลักสูตร ก็จะใช้ว่า 卒検(そつけん)ค่ะ

นอกจากนี้แล้ว ตัวคันจิ 卒 เมื่อรวมกับคันจิตัวอื่นแล้วก็จะเปลี่ยนความหมายไปเลยค่ะ เช่น
卒中(そっちゅう)หมายถึง อัมพาต
卒倒(そっとう)หมายถึง เป็นลม หมดสติ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

ได้ความรู้กันไปแล้ว มาดูกันดีกว่าว่า 卒業旅行 เค้าไปเที่ยวกันที่ไหนบ้าง
อันดับ3

 เกาะที่เต็มไปด้วยธรรมชาติ งดงามมากๆค่า ใครเคยไปแล้วจะหลงใหล
เมืองหลวง นักท่องเที่ยวเยอะ คงไม่แปลกใจที่ใครก็อยากสัมผัสความศรีวิไลซ์ใช่มั้ยละคะ

อันดับ1 ที่ๆสวยงาม มีทุกอย่างครบครัน สวนสนุกก็อยู่ใกล้นิดเดียวเอง คนญี่ปุ่นลงความเห็นกันแล้ววว่าคันไซน่าเที่ยวมากที่สุด อย่าลืมไปแวะเที่ยวคันไซก่อนจบการศึกษานะคะ ^_^


内省 ตอนแรกสนใจคำว่า 卒業 อย่างเดียว แต่พอเริ่มหาข้อมูล ไม่คิดว่า จะใช้คำนี้ในลักษณะของกริยาได้ด้วย และคำว่า อัมพาต หรือ หมดสติ เป็นลมนั้น ล้วนเป็นคำในชีวิตประจำวัน คำศัพท์เหล่านี้ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะ อาชีพล่าม ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ไม่ตายตัว ไม่สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้ จะเก็บไว้ในคลังคำศัพท์ เอาไปใช้ค่ะ