2015年3月19日木曜日

「12」MYSELF_STORYTELLING1

สวัสดีค่ะ เจอกันอีกแล้ว แต่ครั้งนี้ขอพักจากการเที่ยว มาเป็นสาระความรู้เต็มๆเลยดีกว่าค่ะ

สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เรียนเรื่องการเล่าเรื่องจากภาพเกิดปัญหามากมาย ความรู้ที่เรียนมาตั้งแต่ม.ปลาย....อย่าให้พูดเลยดีกว่า อายยันลูกบวช มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ ว่ามันน่าอายแค่ไหน(ขอปี๊ปคลุมหัว)

ある二人のおじさんがソファーに座っている。一人目のおじさんは新聞を読んでいる。隣に座っているはあと二人目のおじさん。でもう一人の旅行者みたいな人は二人目のおじさんに地図。。。道を聞きたいみたい。でも、二人目のおじさんは答えたくないから、一人目のおじさんにもっと近くに移動して一緒に新聞を読む。

内省
 1. เริ่มขึ้นมาก็บอกเลยว่า มีลุงสองคน แล้วลุงสองคนนี้อยู่ที่ไหน สภาพแวดล้อมเป็นยังไงก็ไม่บอก คนฟังก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์มันเกิดที่ไหน
   2. "ลุงคนแรก" แล้วลุงคนนี้คือใคร รูปร่างยังไง ใส่แว่นมั้ย แค่บอกว่า ลุงคนแรกอ่านหนังสือพิมอยู่ นั่งอยู่ตรงไหนของโซฟา โซฟาเป็นยังไง ขาดการอธิบายสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก พอมาอ่านอีกรอบแล้วรู้สึกว่าเป็นการเล่าเรื่องที่แย่มาก
 3. "ลุงคนที่สอง" ก็เช่นเดียวกัน จากรูปจะเห็นชัดเจนว่า คนนี้แต่งตัวอย่างไร ลักษณะรูปร่างควรจะบรรยายให้คนฟังรู้เรื่องด้วย  นั่งอยู่ส่วนไหน่ของโซฟา แล้วจากสภาพการณ์แล้ว เค้ากำลังทำอะไรอยู่หรือเปล่า หรือว่ากำลังรออะไร รอใคร หากไม่บรรยายให้ชัดเจน ก็ไม่นับว่าเป็นการเล่าเรื่องที่ดีเช่นกัน
 4. "นักท่องเที่ยว"ทีว่านั้น อยู่ที่ไหนของภาพ ก็ไม่ได้บรรยายบอก หรือว่าแต่งตัวอย่างไร อายุเท่าไหร่ เพศอะไร ดูเป็นตนต่างชาติมั้ย ขาดการอธิบายที่ดีเช่นกัน 
 5. ลุงคนที่สองไม่อยากตอบนั้น เพราะอะไรถึงไม่อยากตอบ ไม่สามารถเล่าถึงเหตุผลได้ชัดเจน ซึ่งประโยคก่อนหน้าก็ไม่ได้บอกว่า นักท่องเที่ยวคนนี้จะเข้ามาถามทาง หรือแค่บอกว่า กำลังดูแผนที่ เหมือนว่าอยากจะถามทางนะ แต่ประโยคถัดมาดันมาบอกว่า ไม่อยากตอบคำถาม 
 6. "เขยิบเข้าไปใกล้ๆ" ความจริงอยากอธิบายเป็นความหมายแบบนี้ แค่ก็ไม่รู้ว่าภาษาญี่ปุ่นใช้คำศัพท์ว่าอย่างไร ดังนั้น จึงพูดได้แค่ว่า เข้าไปใกล้ๆ แล้วก็อ่านหนังสือพิมพ์ด้วยกัน แต่การบรรยายว่าอ่านหนังสือพิมพ์ด้วยกันนั้นสามารถจินตนาการภาพได้หลายอย่าง กางหนังสือพิมพ์ออกมาอ่านด้วยกันบนโต๊ะ หรือเข้าไปอ่านด้วยกัน ในรูปภาพเห็นได้ชัดเจนว่า เจตนาที่ต้องการจะสื่อคือ ต้องการหลบนักท่องเที่ยวคนที่จะมาถามทาง จากบรรยายนั้น ไม่ได้เล่าเลยว่า เพราะเหตุใดจึงมาอ่านหนังสือพิมพ์กับคนที่นั่งอยู่ข้างๆและอ่านด้วยวิธีใด
 7. คำศัพท์ที่ใช้ ศัพท์เด็กๆทั้งนั้น แกรมม่าอะไรผิดหมด ไม่มีคำเชื่อมประโยคเลย เหมือนพูดจบประโยคแห้งๆ ตัดจบๆ ไม่มีความน่าสนใจ 
 8. ขาดการบรรยายเล่าเรื่องที่ดี อย่างน้อย ก็ต้องบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร บรรยายสภาพแวดล้อมออกมาให้ละเอียดที่สุด จึงจะถือว่าเป็นการสื่อสารที่ดี หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง พอย้อนกลับมาดูอีกทีจะเห็นได้ชัดเจนว่า เป็นการเล่าเรื่องที่ไม่น่าฟังเลย
 9. การทำกิจกรรรมในครั้งนี้ ทำให้ย้อนกลับไปดูตัวเองในสมัยก่อนว่า เวลาเล่าเรื่องให้เพื่อนคนญี่ปุ่นฟังนั้น มันขาดอรรถรส เราเล่าเรื่องตามแกรมม่าที่เรียนมา จบท้ายประโยคเป็นvる vますเท่านั่น ไม่ได้มีใช้คำเชื่อมเพื่อเพิ่มความสนใจเลย แต่ก็ขอขอบคุณคนญี่ปุ่น ที่มีあいづちอยากรู้อยากเห็น น่าฟัง  ตอบกลับมาเหมือนเรื่องที่เราเล่านั้นมันน่าสนใจมาก
 10. ในระหว่างที่เล่าเรื่องนั้น ขาดไปอีกหนึ่งอย่างคือ การเปิดโอกาสให้ผู้ฟังนั้นตอบโต้ในการเล่า ไม่ได้เว้นว่างจบประโยค พอจบประโยคนึงก็เริ่มประโยคนึงทันที เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ไม่มีเลยแม้แต่คำเดียวที่ผู้ฟังนั้นพูดโต้ตอบกลับว่า แต่เวลาเล่าเรื่อง มั่นใจว่า ผู้ฟังพยักหน้ารับรู้อยู่ตลอดเวลา อาจจะเป็นเพราะ คนไทยมักจะคิดว่า การพูดแทรกเป็นเรื่องเสียมารยาทหรือเปล่า จึงได้แต่พยักหน้าเข้าใจ และไม่เริ่มพูดจนกว่าผู้พูดจะพูดจบ แล้วจึงพูดแสดงความคิดเห็น 

0 件のコメント:

コメントを投稿