2015年3月20日金曜日

「13」I SEE_STORYTELLING2

สวัสดีค่ะ บทความที่แล้วได้ลงเรื่อง story telling ไปแล้ว ครั้งนี้จะมาลงอีกรอบเพื่อบอกการพัฒนาของตนเองค่ะ

หลังจากที่ได้เล่าเรื่องรอบแรกไปแล้ว อาทิตย์ถัดมาในคาบเรียน ได้มีการเฉลย และแนะแนว ประโยคที่คนไทยต้องการจะพูดแต่ไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นคำพูดได้ รวมถึงจุดบกพร่องของคนไทย และได้เปรียบเทียบกับคนญี่ปุ่น

ซึ่ง ได้เห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนมาก ครั้งนี้ จะนำstory tellingครั้งที่2 มาให้อ่านกันค่ะ

ホテルのロビーに新聞を読んでいるお父さんと息子さんがソファーに座っている。
ぼーとしている息子さんは偶然に外国人のおじさんと目が合っていた。おじさんはカメラを首からぶらさげ、地図を広げて、誰か助けてもらうかなと考えるみたいな顔をしている。息子はそう思ってから、自分が日本語しかしゃべれないので、心の中に「どうしよう」と思いながら、お父さんの方を見て、アイディアが出来た。お父さんと一緒に新聞を読んだら、おじさんは多分近寄らないかもしれない。それで、お父さんの隣に向かって新聞のかげに隠れてしまった。おじさんは息子さんの行動を見ると、「いやだなー」という意味が分かった。

内省
 ⒈จากข้อบกพร่องครั้งที่แล้ว คือ ไม่ได้บรรยายถึงสถานการณ์รอบตัว สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร ครั้งนี้จึงปรับปรุงและบรรยายว่า รอบตัวนั้นเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีใครบ้าง  ครั้งนี้จึงบรรยายรายละเอียดไปมากขึ้น เริ่มจากที่โรงแรม ส่วนไหนของโรงแรม ก็คือ lobby 
 ⒉ครั้งแรกบอกแค่ว่า "ลุงคนที่หนึ่ง"  "ลุงคนที่สอง" แต่ครั้งในได้ใส่ความสัมพันธ์ของทั้งสองคนเข้าไปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ คนที่อ่านหนังสือพิมพ์เป็นพ่อ และอีกคนเป็นลูก และนักท่องเที่ยวได้เพิ่มรายละเอียดลงไปว่า เค้าอยู่ที่ไหน และได้แขวนกล้องไว้ที่คอ รวมถึงเพิ่มคำว่า น่าจะพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ เพื่อให้สามารถเล่าเรื่องในช่องต่อไปได้ราบรื่นขึ้น
 ⒊เนื่องจากได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่เคารพและ ตัวอย่างที่ดีจากคนญี่ปุ่น ได้นำสำนวนที่ตนเองสนใจมาบรรยายใหม่ เป็นเรื่องดีที่ได้เรียนรู้และเห็นตัวอย่างที่ดี และตัวอย่างที่ไม่ดี (ของตนเอง) และนำทั้งสองอย่างมาประยุกต์ใช้ใหม่ แต่ ข้อเสียคือ พอเห็นตัวอย่างว่า ประโยคนี้ดี น่าสนใจจึงทำให้ลอกประโยคมาทั้งดุ้นเลย บางประโยคแทบจะไม่ได้คิดเองใหม่เลย 
 ⒋ครั้งแรกจบประโยคแบบแห้งๆ ครั้งนี้ได้เติมคำเชื่อมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้การบรรยายดูราบรื่นขึ้น
 ⒌คิดว่าครั้งนี้เล่าได้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ ก็ยังขาดอรรถรสอยู่ดี หวังว่าครั้งหน้าจะทำให้ดีขึ้น
 ⒍ ครั้งนี้ไม่ใช้คำว่า そして เนื่องจากคำเชื่อมคำนี้ นับว่าเป็นคำแรกๆเลยที่เรียนเพื่อใช้ในการเชื่อมประโยค ดังนั้น ไม่ว่าจะพูดหรือจะเขียน ก็มักใช้ そしてในการเชื่อมประโยคเสมอ โดยที่ไม่มีใครเคยสอนมาก่อนว่า そして นั้นใช้เฉพาะในภาษาเขียนเท่านั้น และคนญี่ปุ่นแทบจะไม่ใช้ในภาษาพูดเลย (ขอปี๊ปคลุมหัวแปป)
 ⒎ ใช้ไวยากรณ์ てしまった มาขึ้น ครั้งแรก。。。 ไม่มีใช้เลยแม้แตครั้งเดียว พอได้เรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ รวมถึงได้มองย้อนตัวเองในอดีตว่า แทบจะไม่ได้ใช้เลย ภาษาญี่ปุ่นของตนเองคงจะดูแข็งๆและไม่เป็นธรรมชาติเลย ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ และคนญี่ปุ่นที่สละเวลามาทำกิจกรรมนี้ ทำให้ภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนไทยได้พัฒนามากขึ้นจริงๆค่ะ แม้จะไม่ได้เห็นการพัฒนาได้อย่างชัดเจนในการoutput แต่รู้สึกได้ถึงการพัฒนาของตนเองค่ะ 

0 件のコメント:

コメントを投稿